วงการเสื้อผ้าแฟชั่น กำลังสร้างปัญหาขยะกองโตให้กับโลก หลายคนกำลังมองข้ามปัญหานี้และมองว่าเสื้อผ้าจะเป็นขยะได้ยังไง
ก็เอาไปบริจาคหรือนำไปรีไซเคิลสิ!! ยังไงก็ต้องมีคนต้องการใช้
แต่หารู้ไม่ว่า แม้แต่มูลนิธิหลายแห่งในประเทศไทยเองยังประสบปัญหาเสื้อผ้าบริจาคล้นมือ เกินความต้องการของผู้ยากไร้กลายเป็น ขยะกองโตที่ยากต่อการทำลาย เห็นได้ชัดมากว่าปัญหา Fast fashion
กับคนไทยยังเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ ซื้อง่าย เบื่อเร็ว บริจาคแล้วก็จบ แต่ในส่วนของการส่งต่อ สิ่งเหล่านี้กำลังสร้าง
ปัญหาให้หลายพื้นที่ทั้งไทยและทั่วโลก เพราะไม่ใช่ทุกตัวที่จะถูกส่งต่อนะคะ และความต้องการในการรับบริจาคก็ไม่ได้เยอะขนาดนั้น
วอชิงตันดีซีประกาศงดรับบริจาคเสื้อผ้าเนื่องจากมีขยะผ้าเพิ่มขึ้น จาก 7 ล้านตันเป็น 14 ล้านตัน ในช่วง 20 ที่ผ่านมา ประเทศจีนทิ้งเสื้อผ้าเก่าให้เป็นขยะกว่า 26 ล้านตัน และเอากลับมารีไซเคิลใหม่แค่ 1% เท่านั้น การรีไซเคิลไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่ใครหลายคนคิดนะ เพราะต้องใช้ต้นทุนสูง มาก และกระบวนในการทำก็ยังแลกมาด้วยทรัพยากรธรรมชาติอีก บอกเลยว่าไม่สามารถรองรับเสื้อผ้าได้อันมหาศาลได้ขนาดนี้แน่นอน
อ่านแล้วก็ถึงกับเวียนหัว แต่ยังจะต้องเป็นลมกันต่อ เพราะสิ่งที่คุณกำลังทิ้งกัน มันไม่ใช่แค่เสื้อผ้า 1 ตัวเท่านั้น เพราะมันใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสารเคมีจำนวนมาก มีสารเคมีที่ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมนี้มากถึง 25% และเพียงแค่เสื้อยืด 1 ตัว ต้องใช้น้ำมากถึง 2,500 ลิตร ใช้อาบทั้ง ชีวิตยังไม่หมดเลย
คุณคะ แถมในวงการ Fast fashion มีการนำ Polyester หรือเส้นใยสังเคราะห์จากเคมีมาใช้แทนเส้นใยธรรมชาติไหนจะ เรื่องปัญหาแรงงานที่โดนกดขี่และใช้งานอย่างหนัก เพื่อผลิตเสื้อผ้าให้ทันตามความต้องการของตลาดโลก
ตั้งสติแล้วกลับมาคิดกันให้ดีๆ ว่าเสื้อผ้าที่เรามีในตอนนี้จะกลายไปเป็นขยะในอนาคตหรือเปล่า เสื้อผ้าที่คุณต้องตามซื้อเพื่อให้ทันกระแสจะต้องใช้ทรัพยากรจากโลกอีกเท่าไร ลองหันมาเปลี่ยนใจ เปลี่ยนความคิดใหม่ลดการซื้อให้น้อยลงไม่ใช่เพียงแค่ลดขยะผ้าแต่มันคือการลดการเบียดเบียน โลกนะคะอย่าพึ่งหลงใหลกับราคาที่น่าซื้อ กระแสที่มาแรง เข้มแข็งและช่วยกันนะทุกคน